พื้น . น้ำ . และ การไหล 2

จากบทความครั้งที่แล้วเกี่ยวกับ “การยกพื้น” เพื่อตอบสนองต่อการไหลของน้ำ ป้องกันการรั่วซึม และ ตอบโจทย์ในการใช้งาน ครั้งนี้ ผมขอลงลึกในรายละเอียดของประเภทของวัสดุที่นำมาใช้รองรับการยกพื้น ว่า มีกี่ประเภท และ ข้อเด่น-ข้อด้อย เป็นอย่างไร เรามาติดตามกันดูครับ

1. ระบบถมดินทราย-เทปูนเพื่อปรับระดับความสูง
ระบบนี้เป็นที่ยอมรับและมีการใช้งานโดยทั่วไปในระดับการยกพื้นที่ไม่สูงมากนัก อีกทั้งนิยมใช้ปรับถมบริเวณผิวดิน ข้อดีของระบบนี้ คือ ช่างก่อสร้างที่ไหนๆก็สามารถทำได้ ส่วนข้อด้อยนั้น หลากหลายข้อทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มภาระน้ำหนักให้แก่โครงสร้างอาคารเดิม ตามระดับความสูงที่ปรับถมให้สูงขึ้น อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการถมดินทราย ระยะเวลาในการทำ ความสะอาดของหน้างาน และ การใช้แรงงาน ก็ใช้ไม่น้อยเช่นกัน

2. ระบบโครงคร่าวไม้ หรือ ระบบโครงคร่าวเหล็ก
เพื่อมาประกอบเป็นโครงสร้างสำหรับยกพื้น จะว่าไปแล้วระบบนี้จะเป็นระบบที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเพราะความคุ้นชิน  หรือ เห็นรูปแบบการใช้งานมาก่อนตามแบบอัฒจรรย์กีฬา โครงสร้างอาจทำจากไม้ หรือ ทำจากเหล็กเคลือบสี ระบบนี้ความสามารถในการรับน้ำหนักไม่ค่อยเป็นมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับการออกแบบและฝีมือการประกอบของช่าง การออกแบบและงานประกอบระบบนี้ก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากทั้งน้ำหนักโครงสร้างที่มากจะเพิ่มภาระให้แก่โครงสร้างอาคารเดิม รวมไปถึงการขนส่งชิ้นส่วนโครงสร้างเพื่อประกอบหน้างาน หากเป็นการยกพื้นบนอาคารที่มีความสูงหลายชั้นด้วยแล้ว ชิ้นส่วนโครงสร้างต้องมีการขนถ่ายที่ระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องใช้รอก หรือเครนในการช่วยยกขึ้นอาคาร อีกทั้งการประกอบใช้ตะปู ที่สามารถเป็นสนิมได้โดยง่าย หรือ การเชื่อมด้วยไฟฟ้า ซึ่งอาจะเกิดประกายไฟ เป็นความเสี่ยงเพิ่มเติมในการทำงาน และ ควบคุมความปลอดภัยในการก่อสร้าง อีกประเด็นที่ต้องพึงระวัง คือ เรื่องการคงทนถาวรของวัสดุโครงสร้าง  เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ต้องแช่ หรือ สัมผัสกับน้ำอยู่เนืองๆ จึงเป็นเหตุให้ผุกร่อนได้โดยง่าย ไม่ทนทาน
เครดิตภาพ  www.nucifer.com
เครดิตภาพ  www.bloggang.com
เครดิตภาพ www.baansuannam.com
3. ระบบหล่อลูกปูน เสริมความสูงพื้น
ระบบนี้ผมเองได้มีประสบการณ์โดยตรงในโครงการหนึ่งในการยกพื้น ซึ่งเลือกใช้ลูกปูนคอนกรีตหล่อมาวางตั้งเสริมความสูง ในจุดที่ต้องการรับน้ำหนัก แล้วจึงวางด้วยคาน (ตงไม้) ปูปิดผิวท๊อปด้วยการตีระแนงไม้เป็นพื้น จะว่าไปก็ดูง่าย และ ทำได้จริง เสียตรงที่ระดับลูกปูนคอนกรีตที่หล่อมามีอัตราการยุบตัวไม่เท่ากัน และมักไม่ค่อยได้ระดับความสูงเดียวกัน ดังนั้นในการปรับระดับพื้นให้เรียบเสมอกัน จึงจำเป็นต้องใช้เวลาและแรงงานในการเจียรตัด-แต่ง ลูกปูนคอนกรีตให้ได้ระดับก่อน จึงจะติดตั้งคาน (ตงไม้) และปูระแนงพื้นไม้ต่อไป เนื่องจากการติดตั้งระบบนี้ไม่สามารถยึดกับพื้นได้อย่างมั่นคง จึงจำเป็นต้องใช้ตงไม้ยึดระหว่างลูกปูนคอนกรีตให้มีความมั่นคง ดังนั้นจึงเหมาะกับการใช้งานแบบพื้นระแนงไม่เป็นหลัก

4. ระบบแท่นปรับระดับยกพื้นสำเร็จรูป
ระบบนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองรูปแบบหลัก คือ ชนิดใช้งานภายใน ไม่ทนต่อความชื้น  และ ชนิดใช้งานภายนอก

4.1 ระบบแท่นปรับยกพื้นใช้งานภายใน  หรือ เรียกอีกชื่อว่า Acess Floor เป็นระบบที่อาศัยแป้นโลหะยึดตรึงกับพื้น และ มีโครงสร้างรับแผ่นพื้นขนาดสี่เหลี่ยมวางทับด้านบน ซึ่งมีหลายขนาด และ หลายความหนาตามประเภทใช้งาน จุดเด่นของการยกพื้นประเภทนี้เหมาะสมกับการยกพื้นเพื่อซ่อนระบบสายไฟฟ้า หรือ ระบบเน็ตเวิร์ตกิ้งในห้องคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากต้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือ ซ่อมบำรุงระบบสายไฟฟ้าอยู่บ่อยๆ แผ่นพื้นด้านบนสามารถเปิดออก และประกอบกับเข้าที่ได้โดยง่าย ข้อด้อย คือ ไม่สามารถนำไปใช้งานภานนอกได้ อีกทั้งแป้นโลหะไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้มากนัก การปรับความสูงก็ทำได้ในระดับที่จำกัด

เครดิตภาพ www.domustiles.co.uk
4.2 ระบบแท่นปรับยกพื้นใช้งานภายนอก หรือ เรียกอีกชื่อว่า Screw jack pedestal raise floor (BUZON) เริ่มมีการใช้ระบบนี้ตั้งแต่ประมาณปี 1989 โดยชาวเบลเยี่ยมเป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์ เป็นระบบที่ใช้ชิ้นส่วนพลาสติกชนิด Polyproprelene (PP) มาขึ้นรูปเพื่อเป็นแท่นรองรับวัสดุพื้นด้านบน สามารถปรับความสูงด้วยเกลียวปรับระดับ และ สามารถเสริมต่อชิ้นส่วนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความสูงที่มากขึ้น ด้านบนของของแท่นสามารถปรับเปลี่ยนหัวได้เพื่อรองรับวัสดุพื้นประเภทต่างๆเช่น คาน ไม้(ตงไม้) หรือ อลูมิเนียมโปรไฟล์รูปต่างๆ หรือ หากต้องการใช้งานกับแผ่นหินเพื่อความคงทนและสวยงามก็สามารถทำได้โดยง่ายเช่นกัน กล่าวคือ รวบรวมข้อดีของระบบแท่นปรับยกพื้นใช้งานภายในมา เสริมด้วยความสามารถในการใช้งานภานนอกด้วย ปัจจุบันในประเทศไทยก็เริ่มมีการใช้งานมากขึ้นตามลำดับ ด้วยข้อดีที่หลากหลาย เช่น ทนทาน ไม่ผุกร่อนเสียหายจากความชื้น สามารถแช่อยู่ในน้ำได้ ปรับเปลี่ยนประดับความสูง หรือ เปลี่ยนชนิดท๊อปผิวพื้นได้เรื่อยๆ อีกทั้งยังสามารถทำการปรับระดับพื้นให้เรียบเสมอ แม้พื้นจริงด้านล่างจะมีสโลป หรือ รางระบายน้ำใดๆอยู้ก็ตาม สามารซ่อมแซมดูแลรักษาง่าย น้ำหนักเบา  ตัวแท่นสามารถรับน้ำหนักได้โดยประมาณ 1,000 กก.ต่อจุด เป็นแท่นปรับระดับที่แข็งแรงมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักของตัวมันเอง ชิ้นส่วนเป็นรูปแบบมาตรฐาน  ข้อด้อย คือ เป็นระบบที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เนื่องจากเป็นระบบที่พัฒนาการใหม่ใช้มาจากทางยุโรป อีกทั้งช่างก่อสร้างไม่คุ้นเคย
ผลิตภัณฑ์แผ่นยกพื้น BUZON
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ !! สำหรับระบบยกพื้นที่เราเริ่มต้นด้วยการตอบสนองต่อการไหลของน้ำ ป้องกันการรั่วซึม และ ตอบโจทย์ในการใช้งาน รายละเอียดแต่ะละระบบ ก็มีความเหมาะสมในการเลือกใช้งานตามแต่ทุนทรัพย์ การวางแผนการดูแลรักษา และซ่อมบำรุงในอนาคต อีกทั้งปัจจัยเรื่องระยะเวลาในการทำงาน ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการเลือกใช้ให้ดี ผมหวังว่า ทุกท่านจะสามารถพิจารณาในการเลือกการใช้งานการยกพื้นได้บ้างแล้วนะครับ...

โดย คุณเกียรตินันท์  วิจิตรประไพ

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม